สรุปวิจัย
เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย
The Result of Providing Natural Color Learning Activity on Young Children
Scientific Basic Skills ยุพาภรณ์ ชูสาย* Yupaporn Choosai ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ ** Dr.Suchinda Kajonrungsilp ชูศรี วงศ์รัตนะ*** Chusri Wongrattana
ความมุงหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
สมมุติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย
1. การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล
2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1. เลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียน โดยวิธีการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน ได้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน 2. จากกลุ่มตัวอย่างในข้อ 1 สุ่มอย่างง่ายอีกครั้ง ด้วยการจับสลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนในการวิจัย
-ขอความรวมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
-ชี้แจ้งให้ครูประจำชั้นทราบรูปแบบงานวิจัย และขอความรวมมือในการดำเนินการวิจัย
-สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์
-กอนทาการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
-ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ถึงวันที่ 22 กันยายน 2554 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ไดแก วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 40 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ เวลา 09.00 - 09.40 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
-เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 ประเมินหลังการทดลอง (Post-test) ด้วย แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นชุดเดียวกับ Pre-test เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และนำแบบทดสอบที่ได้จากการทดสอบทั้งก่อนและหลังการทดลองมาตรวจให้ คะแนนและนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการวิจัยต่อไป
สรุปได้ว่า
หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง สามารถอภิปรายไดว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้เป็นรูปแบบการเรียนการสอนอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การทดลองที่เปิด โอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองเป็นการเรียนการสอนที่ให้อิสระแก่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูคอยแนะนำและ ช่วยเหลือให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นวิธีที่ให้เด็กสามารถปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการทดลองสีจากธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการ สังเกต การจำแนกประเภท การหามิติสัมพันธ์การลงความเห็นข้อมูล เด็กได้ใช้ความคิดและสัมผัสสื่อที่ หลากหลาย โดยการปฏิบัติจริงตามความคิดของตนเองในการเรียนรูพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเด็กแต่ละวัยจะเพิ่มขึ้นถึงขั้นสูงสุดตามศักยภาพของแต่ละ บุคคลไดก็ตอเมื่อไดรับการชวยเหลือจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก เชน ญาติ หรือเพื่อนวัยเดียวกัน การชวยเหลือ จากครูจะชวยให้เด็กทุกคนเกิดการเรียนรูตามศักยภาพของตน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนจึงมี สำคัญมาก ซึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติเป็นการทดลองเพื่อให้เด็กได้ทราบว่าสีต่างๆ เกิดขึ้นมา จากอะไร การน สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัวที่เด็กได้พบเห็นและคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านั้นสามารถทำให้เป็นสีต่างๆ และยังสามารถนำเอาสีที่เกิดจากธรรมชาติมาทำให้เกิดประโยชน์ได้มากมายหลายสิ่ง ด้วยวิธีการ ทดลอง การลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้สีและเรียนรู้วิธีการนำสีที่ได้ไปใช้ประโยชน์ การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ในการเขาสังคมนั้นๆ อิทธิพลของทฤษฎีนี้ มีบทบาทในการ จัดแนวประสบการณในระดับปฐมวัย คือ ให้เด็กเรียนรูโดยให้โอกาสเด็กในการเลน สำรวจทดลอง มีโอกาสเลือก ตัดสินใจและแก้ปัญหาตางๆ ด้วยตนเองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำมาเป็นตัวแปรตามเพื่อให้เด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มี 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการหามิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น