บันทึกการเรียนครั้งที่9
วัน อังคาร ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ 2558ความรู้ที่ได้รับKnowledge
การนำเสนอบทความ
1.นางสาว สุทธิการณ์ กางพาพันธ์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
สรุป คือ เด็กปฐมวัยหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่จัดนี้มี6กิจกรรม ประกอบด้วย
-กิจกรรม หวานเย็นชื่นใจ เด็กๆก็จะค้นพบว่าปกตินำ้และนำ้หวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิตำ่กว่า 0 องศา ทำให้นำ้และนำ้หวานมีอุณหภูมิตำ่ลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดนำ้แข็ง
-กิจกรรม ความลับของดิน เด็กๆช่วยกันทดลองและพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบที่ผุพังและสลายตัว ซากพืชซากสัตว์ อากาศ และนำ้ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดต่างกัน เมื่อเทนำ้ลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะและอนุภาคที่มีขนาดเล็กก็จะค่อยๆตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นินเป็นชั้นๆส่วนซากพืชซากสัตว์นั้นก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของนำ้ ก็จะทำให้เห็นองค์ประกอบของดิน
-กิจกรรม ถึงร้อนก็อร่อยได้ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและแสงสว่างของโลก พื้นผิวโลกที่มีลักษณะแตกต่างกันจะดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้ได้ต่างกัน ซึ่งจะพบจากการสัมผัสแผ่นกระเบื้องสีดำและขาว จะรู้สึกร้อนกว่าเพราะสีดำดูดกลืนพลังความร้อนำดมากกว่า จึงถ่ายโอนความร้อนมายังเท้าของเราได้มากกว่า
2.นางสาวศุทธินี โนนริบูรณ์
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง
สรุปคือ เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ซึ้งผู้ปกครองนั้นมีหลากหลายอาชีพ และเจ้าหน้าที่รีสอร์ทมาร่วมทำกิจกรรม กิจกรรมนี้ให้ความสนุกสนาน และเด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต การลงความคิดเห็นทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่ายๆ โดยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
3.นางสาว เจนจิรา เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก (Teaching Children about Magnetic Force)
สรุป การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุที่เป็นโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่มีแรงที่ดูดนั้น ชึ็งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุและวัตถุคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก
จะเป็นเรื่องที่ทำให้เด็กสนใจติดตามผลการทดลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐมวัย
การนำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซค
โดยอธิบายตามหลักของวิทยาศาสตร์ของๆเล่นที่เราได้นั้นมีกลไกลอย่างไร สอนในเรื่องของอะไร
ซึ้งมีเรื่องดังต่อไปนี้ ลม เสียง ความดัน แรงโน้มถ่วง แสง เป็นต้น
การนำเสนองานกลุ่ม
ของเล่นที่นำเสนอคือ พัดลวงตา
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ คือ เด็กเรียนรู้จากธรรมชาติ จากการมองด้วยสายตาจะจดจำภาพใดภาหนึ่งหลังจากภาพนั้นหายไป1/15 วินาที หากในระยะเวลาปรากฏในภาพใหม่แทนที่ด้วยสองภาพด้วยกันมีลักษณะเคลื่อนไหวต่อเนื่องเราจะเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
ของเล่นตามมุม สนุกหรรษาไปกับการท่องเที่ยว
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ คือ แม่เหล็กจะทำให้แดงดูดหรือแรงผลักแม่เหล็กต่างขั้วกันมีแรงดึงดูดครัวที่เหมือนกันจะผลักออกจากกัน
การทดลองเป็นการทดลองคือ เรือไม้จิ้มฟัน
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ คือ ไม้จิ้มฟันที่ทาบนแชมพูจะทำให้แรงตึง ของผิวนำ้บริเวณนั้นลดลงไม้จิ้มฟันจิ้มถูกแรงดึงของนำ้ด้านตรงข้ามจึงทำให้ผู้ไปด้ารตรงข้ามกับร้านสีทาแชมพูไว้ชึ้งมีความสามารถในการลดแรงดึงของผิวนำ้
ทักษะ Skills
-การใช้คำถาม
-การคิดวิเคราะห์หาหลักการและเหตุผล
-การบูรณาการทางวิทยาศาสตร์
การประยุกต์ใช้ Apply
บูรณาการเข้าสู่บทเรียนเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
การจัดมุมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิธีการสอนTeaching methods
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจน ใช้ทักษะที่หลากหลาย ใช้คำถามที่หลากหลายเชื่อมโยงไปสู่วิทยาศาสตร์
ประเมินAssessment
ตนเอง My self
ตั้งใจเรียนมีความพร้อมที่จะเรียน ไปก่อนเวลาเรียน ไม่คุยกับเพื่อนในห้องขณะที่อาจารย์สอน
เพื่อน Classmate
แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ไม่คุยกันขณะเรียน ตั้งใจทำงาน มีความกระตือรือร้นพร้อมที่จะเรียน
ครูผู้สอน Instructor
มีการเตรียมตัว มีความพร้อมที่จะสอน ให้ความเอาใจใส่กับนักศึกษาอย่างทั่วถึง พูดจาไพเราะเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษา
ห้องเรียน Place
ห้องสะอาดเรียบร้อยอุปกรณ์พร้อมใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น