วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกการเรียนครั้งที่14
วันอังคาร ที่ 17 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับ Knowledge
กิจกรรมการทำCooking
การทำข้าวจี่
ครื่องปรุง
1        ข้าวเหนียว ปั้นเป็นก้อนตามชอบ
2       ไข่ 
     น้ำปลา
4       ซอสถั่วเหลือง
5       ไม้เสียบข้าวจี่ 
     ไก่หยอง

 วิธีทำ
-ปั้นข้าวจี่เป็นก้อนสอดไส้ไก่หยองตามชอบ ใช้ไม้เสียบข้าวที่ปั้นไว้จะได้ง่ายเวลาย่างไฟ
-ตอกไข่  ตีไข่ให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลาและซอสปรุงรส
-เมื่อเตาย่างได้ที่ นำข้าวปั้นขึ้นย่างไฟ
-จากนั้นนำข้าวจี่ชุบไข่แล้วนำกลับไปปิ้งให้สุก หากใครชอบไข่หนาๆก็ชุบหลายรอบ เราชอบไข่หนาๆก็ชุบจนไข่หมดเป็นอันเรียบร้อย จัดใส่จาน
ทานข้าวจี่กับไก่ย่าง ส้มตำ ลาบหมู พร้อมผักเคียง วางบนเสื่อน้อยที่หอบหิ้วมาจากเมืองไทย อิอิ เป็นวันหยุดที่เปรมสุดๆ


ขั้นตอนการทำตามลำดับภาพ






กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ
1.การกำหนดสมมุติฐานกำหนดปัญหาวาจะทำยังไงให้ไข่สุกและทานได้ โดยเป็นคำถามที่ครูใช้ถามเด็กเพื่อให้เด็กค้นหาคำตอบ
2.สมมุติฐานถ้าครูเอาข้าวเหนียวไปย่างบนเตาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น
3.เด็กลงมือปฎิบัติและสังเกตูการเปลี่ยนแปลง

สรุปกิจกรรมนี้คือ ความร้อนไปทำปฏิกิริยากับเม็ดข้าวทำให้เม็ดข้าวเกิดการเปลี่ยนสีและสุกไปนั่นเอง


กิจกรรม Cooking ขนมโค
ส่วนผสม
 แป้งข้าวเหนียว
 มะพร้าวขูด
 น้ำตาลมะพร้าว
 เกลือ (สักเล็กน้อย)
 น้ำเปล่า  และ สีผสมอาหาร
วิธีทำ
-เตรียมกะละมัง ใส่แป้ง ใส่น้ำตามทีละน้อย
แล้วนวดจนแป้งนิ่มมือ
-เมื่อได้แป้งแล้ว ให้ปั้นเป็นก้อน (ขนาดหัวแม่โป้งมือ)
แล้วกดให้แบน
-เอาน้ำตาลมะพร้าวที่ตัดไว้ มาวางบนแป้ง
แล้วปิดให้มิด
-ทำไปจนหมดแป้ง
-เตรียมหม้อ ใส่น้ำ ตั้งไฟให้เดือดพล่านใส่ก้อนแป้งที่ทำเสร็จแล้วลงไปต้ม
พอแป้งสุก จะลอยตัวขึ้นค่ะ
ให้ตักใส่กระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
เอาลงไปคลุกกับมะพร้าวขูดผสมกับเกลือ ให้ทั่ว
-(ให้แบ่งมะพร้าวคลุกกับเกลือ แล้วค่อยเอาแป้งคลุกทีละรอบนะคะ)
 คลุกแล้ว เอาใส่จาน
ขั้นตอนการทำตามลำดับภาพ ค่ะ






 


กิจกรรมการทำหวานเย็นชื่นใจ หวานเย็น
ส่วนผสม
นำ้หวาน นำ้เปล่า
นำ้แข็ง
เกลือ
วิธีทำ
-ผสมนำ้หวานและนำ้เปล่าลงในภาชนะ
-ตักนำ้แข็งและเกลือใส่กะละมัง
-นำถ้วยที่ใส่นำหวานวางลงในกะละมังที่ใส่นำ้แข็งกับเกลือ
-คนนำ้หวานในภาชะไปเรื่อยๆนำ้แข็งจะเกิดการแข็งตัวจนเป็นหวานเย็น

ขั้นตอนการทำตามลำดับภาพ






สรุปข้อควรรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกิจกรรมหวานเย็นคือ 
         การที่เราใส่เลือเข้าไปจะทำให้นำ้ในกะละมังด้านล่างมีอุณหภูมิตำ่กว่า0องศาเซลเซียสได้โดยที่ไม่กลายเป็นนำ้แข็งนั่นก็จะเพียงพอที่จะทำให้เราสามารถคนนำ้เพื่อส่งความเย็นเข้าไปสู่นำ้ให้แข็งกลายเป็นหวานเย็นได้นั่นเอง

การนำเสนอโทรทัศน์ครู ของ นางสาวกมลรัตน์ มาลัย เลขที่7
เรื่อง ดินนำ้มันลอยไดอย่างไร
สรุปได้ว่าการที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา    แรงนี้เรียกว่า   ?แรงลอยตัวหรือแรงพยุง?    ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่    ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่   หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น)  ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง   และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น   วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้



ทักษะ Skill
การสังเกต
การแก้ไขปัญหา
การจำแนก
การสื่อความหมาย
การลงความเห็นการคำนวณ
การมิติสัมพันธ์

การนำไปประยุกต์ใช้Apply
การนำมาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนในอนาคต
ต้องให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือทำ รู้จักคิด ค้นคว้าหาคำตอบเอง

วิธีการสอน Teaching methods
สอนให้เด็กลงมือปฎิบัติเองรู้จักคิดรู้จกหาคำตอบ โดยครูจะคอยดูแลแะช่วยเหลืออยู่ห่างๆ



ประเมิน Assessment
ตนเอง Myself
ทำกิจกรรมอย่างมีความสุข เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมีความพร้อมอยู่เสมอ
เพื่อน Classmate
ทำกิจกรรมอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการตอบคำถามอาจารย์เข้าเรียนตรงเวลา
ผู้สอน Instructor
อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจง่าย สอนนักศึกษาด้วยความรักความเอ็นดูไม่ดุด่านักศึกษา
ห้องเรียน Place
ห้องสะอาด พื้นที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น