วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกการเรียนครั้งที่15
วัน อังคารที่ 24 พฤษจิกายน พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
การนำเสนอ บทความ โทรทัศน์ครู และวิจัย ของเพื่อนที่เหลือ
การนำเสนอ ของเลขที่ 5 นางสาว รัชดา เทพเรียน
เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
สรุปได้ว่า ครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสมำ่เสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆซึ่ง สสวท.กำลังพัฒนา ซึ้งการเรียนวิทยาศาสตร์ของปฐมวัยนั้นมุ่งเน้นเรียนรู้เรื่องกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้มุ่งเน้นเนื้อหา
การนำเสนอ ของเลขที่ 4 นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
การนำเสนอ ของเลขที่ 3 นางสาวชนาภา คะปัญญา
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
สรุปได้ว่า  วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน
การนำเสนอของเลขที่ 22  นางสาว ชนากานต์ พงศ์สิทธิศักดฺิ์
เรื่อง อากาศ Teaching Children about weather
สรุปได้ว่า การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆเด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
การนำเสนองานวิจัย ของเลขที่ 1 นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสามารถส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยกระตุ้นให้เด็กเกิดการลงมือปฎิบัติกระทำโดยมาปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสื่อธรรมชาติรอบๆตัวเด็กโดยครูมีบทบาทเสรีเตรียมความพร้อมเด็กกระตุ้นการทำกิจกรรมการสังเกต การตอบคำถาม การทำงานเป็นกลุ่มการแสดงความคิดเห็นรวมถึงอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับตัวการฝึกฝนฝห้เด็กรู้จักคิดในการจับประเด็น การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้ประสบการณ์ตรงเกิดจากการเรียนรู้ที่หลากหลายส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
การนำเสนอโทรทัศน์ครู ของเลขที่ 8 นางสาว กรกช เดชประเสริฐ
เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์ 
เรื่อง ไข่ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง
เรื่อง น้ำมันให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง



ทักษะ
-การจับประเด็นสำคัญ
-การตั้งคำถาม
-การแก้ไขปัญหา
การนำไปใช้
-ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก 
-การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ 
วิธีการสอน
-ใช้คำถามเพื่อให้เด็กหาคำตอบ
-การเรียนรู้จากประสบการเดิมเชื่อมโยงมาเป็นความรู้ที่แปลกใหม่
-กระตุ้นให้เด็กตอบคำถามและให้มีส่วนร่วมทุกคน




ประเมิน Assessment 
ตัวเอง  Myself      
 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เรียนอย่างตั้งใจและร่วมตอบคำถาม 
เพื่อน  Classmate     
 พูดจาไพเราะยิ้มแย้มแจ่มใส แต่งกายสุภาพเรียบร้อยทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการตอบคำถามภายในห้องเรียน
ครูผู้สอน  Instructor  
 สอนเข้าใจง่าย อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมในการสอนได้ละเอียดเข้าใจสนใจนักศึกษาทุกคนเอาใจใส่ทั่วถึง
ห้องเรียน  Place  
ห้องสะอาดเรียบร้อย แอร์เย็นพอดี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น