วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกการเรียนครั้งที่15
วัน อังคารที่ 24 พฤษจิกายน พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
การนำเสนอ บทความ โทรทัศน์ครู และวิจัย ของเพื่อนที่เหลือ
การนำเสนอ ของเลขที่ 5 นางสาว รัชดา เทพเรียน
เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
สรุปได้ว่า ครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสมำ่เสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆซึ่ง สสวท.กำลังพัฒนา ซึ้งการเรียนวิทยาศาสตร์ของปฐมวัยนั้นมุ่งเน้นเรียนรู้เรื่องกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้มุ่งเน้นเนื้อหา
การนำเสนอ ของเลขที่ 4 นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
การนำเสนอ ของเลขที่ 3 นางสาวชนาภา คะปัญญา
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
สรุปได้ว่า  วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน
การนำเสนอของเลขที่ 22  นางสาว ชนากานต์ พงศ์สิทธิศักดฺิ์
เรื่อง อากาศ Teaching Children about weather
สรุปได้ว่า การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆเด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก
การนำเสนองานวิจัย ของเลขที่ 1 นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสามารถส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยกระตุ้นให้เด็กเกิดการลงมือปฎิบัติกระทำโดยมาปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสื่อธรรมชาติรอบๆตัวเด็กโดยครูมีบทบาทเสรีเตรียมความพร้อมเด็กกระตุ้นการทำกิจกรรมการสังเกต การตอบคำถาม การทำงานเป็นกลุ่มการแสดงความคิดเห็นรวมถึงอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับตัวการฝึกฝนฝห้เด็กรู้จักคิดในการจับประเด็น การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้ประสบการณ์ตรงเกิดจากการเรียนรู้ที่หลากหลายส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
การนำเสนอโทรทัศน์ครู ของเลขที่ 8 นางสาว กรกช เดชประเสริฐ
เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์ 
เรื่อง ไข่ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง
เรื่อง น้ำมันให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง



ทักษะ
-การจับประเด็นสำคัญ
-การตั้งคำถาม
-การแก้ไขปัญหา
การนำไปใช้
-ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก 
-การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ 
วิธีการสอน
-ใช้คำถามเพื่อให้เด็กหาคำตอบ
-การเรียนรู้จากประสบการเดิมเชื่อมโยงมาเป็นความรู้ที่แปลกใหม่
-กระตุ้นให้เด็กตอบคำถามและให้มีส่วนร่วมทุกคน




ประเมิน Assessment 
ตัวเอง  Myself      
 แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เรียนอย่างตั้งใจและร่วมตอบคำถาม 
เพื่อน  Classmate     
 พูดจาไพเราะยิ้มแย้มแจ่มใส แต่งกายสุภาพเรียบร้อยทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการตอบคำถามภายในห้องเรียน
ครูผู้สอน  Instructor  
 สอนเข้าใจง่าย อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมในการสอนได้ละเอียดเข้าใจสนใจนักศึกษาทุกคนเอาใจใส่ทั่วถึง
ห้องเรียน  Place  
ห้องสะอาดเรียบร้อย แอร์เย็นพอดี




บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกการเรียนครั้งที่14
วันอังคาร ที่ 17 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับ Knowledge
กิจกรรมการทำCooking
การทำข้าวจี่
ครื่องปรุง
1        ข้าวเหนียว ปั้นเป็นก้อนตามชอบ
2       ไข่ 
     น้ำปลา
4       ซอสถั่วเหลือง
5       ไม้เสียบข้าวจี่ 
     ไก่หยอง

 วิธีทำ
-ปั้นข้าวจี่เป็นก้อนสอดไส้ไก่หยองตามชอบ ใช้ไม้เสียบข้าวที่ปั้นไว้จะได้ง่ายเวลาย่างไฟ
-ตอกไข่  ตีไข่ให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลาและซอสปรุงรส
-เมื่อเตาย่างได้ที่ นำข้าวปั้นขึ้นย่างไฟ
-จากนั้นนำข้าวจี่ชุบไข่แล้วนำกลับไปปิ้งให้สุก หากใครชอบไข่หนาๆก็ชุบหลายรอบ เราชอบไข่หนาๆก็ชุบจนไข่หมดเป็นอันเรียบร้อย จัดใส่จาน
ทานข้าวจี่กับไก่ย่าง ส้มตำ ลาบหมู พร้อมผักเคียง วางบนเสื่อน้อยที่หอบหิ้วมาจากเมืองไทย อิอิ เป็นวันหยุดที่เปรมสุดๆ


ขั้นตอนการทำตามลำดับภาพ






กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ
1.การกำหนดสมมุติฐานกำหนดปัญหาวาจะทำยังไงให้ไข่สุกและทานได้ โดยเป็นคำถามที่ครูใช้ถามเด็กเพื่อให้เด็กค้นหาคำตอบ
2.สมมุติฐานถ้าครูเอาข้าวเหนียวไปย่างบนเตาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น
3.เด็กลงมือปฎิบัติและสังเกตูการเปลี่ยนแปลง

สรุปกิจกรรมนี้คือ ความร้อนไปทำปฏิกิริยากับเม็ดข้าวทำให้เม็ดข้าวเกิดการเปลี่ยนสีและสุกไปนั่นเอง


กิจกรรม Cooking ขนมโค
ส่วนผสม
 แป้งข้าวเหนียว
 มะพร้าวขูด
 น้ำตาลมะพร้าว
 เกลือ (สักเล็กน้อย)
 น้ำเปล่า  และ สีผสมอาหาร
วิธีทำ
-เตรียมกะละมัง ใส่แป้ง ใส่น้ำตามทีละน้อย
แล้วนวดจนแป้งนิ่มมือ
-เมื่อได้แป้งแล้ว ให้ปั้นเป็นก้อน (ขนาดหัวแม่โป้งมือ)
แล้วกดให้แบน
-เอาน้ำตาลมะพร้าวที่ตัดไว้ มาวางบนแป้ง
แล้วปิดให้มิด
-ทำไปจนหมดแป้ง
-เตรียมหม้อ ใส่น้ำ ตั้งไฟให้เดือดพล่านใส่ก้อนแป้งที่ทำเสร็จแล้วลงไปต้ม
พอแป้งสุก จะลอยตัวขึ้นค่ะ
ให้ตักใส่กระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
เอาลงไปคลุกกับมะพร้าวขูดผสมกับเกลือ ให้ทั่ว
-(ให้แบ่งมะพร้าวคลุกกับเกลือ แล้วค่อยเอาแป้งคลุกทีละรอบนะคะ)
 คลุกแล้ว เอาใส่จาน
ขั้นตอนการทำตามลำดับภาพ ค่ะ






 


กิจกรรมการทำหวานเย็นชื่นใจ หวานเย็น
ส่วนผสม
นำ้หวาน นำ้เปล่า
นำ้แข็ง
เกลือ
วิธีทำ
-ผสมนำ้หวานและนำ้เปล่าลงในภาชนะ
-ตักนำ้แข็งและเกลือใส่กะละมัง
-นำถ้วยที่ใส่นำหวานวางลงในกะละมังที่ใส่นำ้แข็งกับเกลือ
-คนนำ้หวานในภาชะไปเรื่อยๆนำ้แข็งจะเกิดการแข็งตัวจนเป็นหวานเย็น

ขั้นตอนการทำตามลำดับภาพ






สรุปข้อควรรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกิจกรรมหวานเย็นคือ 
         การที่เราใส่เลือเข้าไปจะทำให้นำ้ในกะละมังด้านล่างมีอุณหภูมิตำ่กว่า0องศาเซลเซียสได้โดยที่ไม่กลายเป็นนำ้แข็งนั่นก็จะเพียงพอที่จะทำให้เราสามารถคนนำ้เพื่อส่งความเย็นเข้าไปสู่นำ้ให้แข็งกลายเป็นหวานเย็นได้นั่นเอง

การนำเสนอโทรทัศน์ครู ของ นางสาวกมลรัตน์ มาลัย เลขที่7
เรื่อง ดินนำ้มันลอยไดอย่างไร
สรุปได้ว่าการที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา    แรงนี้เรียกว่า   ?แรงลอยตัวหรือแรงพยุง?    ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่    ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่   หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น)  ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง   และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น   วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้



ทักษะ Skill
การสังเกต
การแก้ไขปัญหา
การจำแนก
การสื่อความหมาย
การลงความเห็นการคำนวณ
การมิติสัมพันธ์

การนำไปประยุกต์ใช้Apply
การนำมาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนในอนาคต
ต้องให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือทำ รู้จักคิด ค้นคว้าหาคำตอบเอง

วิธีการสอน Teaching methods
สอนให้เด็กลงมือปฎิบัติเองรู้จักคิดรู้จกหาคำตอบ โดยครูจะคอยดูแลแะช่วยเหลืออยู่ห่างๆ



ประเมิน Assessment
ตนเอง Myself
ทำกิจกรรมอย่างมีความสุข เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมีความพร้อมอยู่เสมอ
เพื่อน Classmate
ทำกิจกรรมอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการตอบคำถามอาจารย์เข้าเรียนตรงเวลา
ผู้สอน Instructor
อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจง่าย สอนนักศึกษาด้วยความรักความเอ็นดูไม่ดุด่านักศึกษา
ห้องเรียน Place
ห้องสะอาด พื้นที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม




















วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่13


บันทึกการเรียนครั้งที่13
วัน อังคาร ที่ 10 พฤษจิกายน พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับ Knowledge
Activity ...Cooking Waffles วาฟเฟิล
Ingredient
-Egg
-Milk
-Water
-Butter
-Flour waffles
Topping
-Corn
-Chocolate
-Ice  Cream

Gastronomy
1.นำแป้ง นม ไข่และนำ้ใส่ภาชนะ แล้วคนให้เข้ากันไม้ใส่นำ้จนเหลวมากเกินไปพร้อมใส่ข้าวโพด
2.นำเนยมาทาบนเตาอบแล้วนำแป้งที่ผสมตักเข้าใส่เครื่องเตาอพสำหรับทำวาฟเฟิล
3.รอให้วาฟเฟิลสุก ตกแต่ง พร้อมรับประทาน











Activity ...Cooking Takoyaki ทาโกยากิ
Ingredient
-Egg
-Rice
-Crab
-Butter
-Seaweed
-Mayonnaise
Gastronomy
1.ตักข้าวตอกไข่ใส่คนให้เข้ากัน
2.หั่นปูอัดต้นหอมและปรุงรส
3.ทาเนยบนเตา แล้วตักข้าวที่ผสมไว้ลงบนเตา รอให้สุก
4.ตกแต่งด้วยสาหร่าย หรือตกแต่งตามใจชอบ
















ทักษะทางวิทยาศาสตร์





ทักษะ Skill
          การรู้จักการสังเกต  การเปลี่ยนแปลงการแปรรูปของอาหาร  การตวงส่วนผสม และสัดส่วนที่ใช้ในการทำอาหาร ทำอย่างไรถึงจะได้อาหารออกมาในรสฃาติที่อร่อยต้องใช้เวลากี่นาทีอาหารค่อยจะสุก การทำงานอยู่เป็นกลุ่มทำงานร่วมกับผู้อื่นฟังความคิดเห็นของกันและกัน การปฎิบัติตามข้อตกลง
การประยุกต์ใช้ Apply
        -การทำกิจกรรมต้องมีการวางแผนงานเพื่อให้งานออกมาสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
        -การทำกิจกรรมต้องให้เด็กลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ครูจะเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวก
       -การสรุปกิจกรรมครูต้องคอยต้งคำถามที่หลากหลายกับเด็กเพื่อให้เด็กรู้จักคิดหาคำตอบเองเป็นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาให้กับเด็กอีกอย่างหนึ่ง
วิธีการสอน Teaching methods
      -อาจารย์จะคอยให้ความช่วยเหลือและดูอยู่ห่างๆ ให้ลงมือกระทำเอง
      -ตั้งคำถามให้นักศึกษาหาคำตอบและเหตุผลด้วยตนเอง
      -คอยชี้แนะแนวทางให้ทำสิ่งที่ถูกต้อง




ประเมิน Assessment
ตนเอง Myself
ทำกิจกรรมอย่างมีความสุข เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมีความพร้อมอยู่เสมอ
เพื่อน Classmate
ทำกิจกรรมอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการตอบคำถามอาจารย์เข้าเรียนตรงเวลา
ผู้สอน Instructor
อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจง่าย สอนนักศึกษาด้วยความรักความเอ็นดูไม่ดุด่านักศึกษา
ห้องเรียน Place
ห้องสะอาด พื้นที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม














บันทึกอนุทินครั้งที่12


บันทึกการเรียนครั้งที่12
วัน อังคาร ที่ 10 พฤษจิกายน พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับ Knowledge
การเขียนแผนการเรียนรู้
1.ตั้งวัตถุประสงค์
2.กำหนดสาระการเรียนรู้
3.เขียนกิจกรรม ขั้นนำ-ขั้นสอน-ขันสรุป
4.การประเมินผล
วิเคราะห์การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
หน่วยที่ 1 หน่วยยานพาหนะ
การทดลอง  จรวดกล่องฟิล์ม
Cooking        ทาโกยากิ
หน่วยที่ 2 หน่วยร่างกายของฉัน
การทดลอง  ผมชองฉัน
Cooking        ขนมโค
หน่วยที่ 3 หน่วยชุมชน
การทดลอง  เรือไม้จิ้มฟัน
Cooking        ข้าวจี่
หน่วยที่ 4 หน่วยต้นไม้แสนรัก
การทดลอง สนุกกับสีดอกไม้
Cooking       พิซซ่าหรรษา

เกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 

ทักษะทางวิทยาศาสตร์



กระบวนการทางวิทยาศาสตร์





ทักษะ Skill
         -การสังเกตและการปรับแก้ผนของกลุ่ม
         -การตอบและการแสดงความคิดเห็นในการช่วยกันปรับแก้หรือเพิ่มเติมแผนการจัดประสบการณ์
         -การยอมรับความคิดเห็นชึ่งกันและกัน
การประยุกต์ใช้ Apply
        -แผนที่นำมาสอนเด็กต้องสามารถทำให้เด็กเข้าใจง่าย
       -การสรุปกิจกรรมครูต้องคอยต้งคำถามที่หลากหลายกับเด็กเพื่อให้เด็กรู้จักคิดหาคำตอบเองเป็นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาให้กับเด็กอีกอย่างหนึ่ง
       -การทำแผนกิจกรรมการเรียนรู้ต้องวิเคราะห์ให้ละเอียด
วิธีการสอน Teaching methods
      -อาจารย์จะคอยให้ความช่วยเหลือและดูอยู่ห่างๆ ให้ลงมือกระทำเอง
      -ตั้งคำถามให้นักศึกษาหาคำตอบและเหตุผลด้วยตนเอง
      -คอยชี้แนะแนวทางให้ทำสิ่งที่ถูกต้อง




ประเมิน Assessment
ตนเอง Myself
ทำกิจกรรมอย่างมีความสุข เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมีความพร้อมอยู่เสมอ
เพื่อน Classmate
ทำกิจกรรมอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการตอบคำถามอาจารย์เข้าเรียนตรงเวลา
ผู้สอน Instructor
อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจง่าย สอนนักศึกษาด้วยความรักความเอ็นดูไม่ดุด่านักศึกษา
ห้องเรียน Place
ห้องสะอาด พื้นที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม














วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่11

บันทึกการเรียนครั้งที่11
วัน อังคาร ที่ 27 เดือนตุลาคม พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับ Knowledge
    การทำกิจกรรมการทดลอง ดอกไม้หลากสี
ซึ้งมีอุปกรณ์ดังนี้
1.สี
2.กระดาษ
3.กรรไกร
วิธีการเล่น
  - ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้โดยตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้ที่มี4กลีบตัดแบบใดก็ได้ตามจินตนาการพร้อมระบายสีให้วสยงามตามใจชอบ
  -พับกลีบดอกไม้ทั้ง4กลีบลงตรงกลางโดยไม่ต้องให้กลีบดอกไม้หักลงมาก
  -นำดอกไม้ลงไปลอยในนำ้ พร้อมสังเกตุการเปลี่ยนแปลง
 จากเหตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ
  ดอกไม้กระดาษลอยและเคลื่อนไปตามแรงของลม นำ้สามารถเข้าไปซึมซับในเนื้อเยื่อของกระดาษทำให้กระดาษคลายตัวและผลิบานออก และบางดอกสีก็ละลายในนำ้เมื่อกระดาษเปียกนำ้จนหมดกระดาษก็จมนำ้ ดอกไม้ที่มีขาดใหญ่ก็ผลิบานก่อนดอกไม้ที่มีขนาดเล็กตามลำดับ
ดังการทดลองต่อไปนี้





กิจกรรมการทดลองปล่อยนำ้ออกจากขวด
วิธีการทดลองและผลการทดลอง
       นำขวดพลาสติกมาเจาะรูให้มี 3 ระดับ บน กลาง ล่าง นำเทปกาวมาปิดรูที่เจาะไว้เทนำ้ลงไปให้เต็มขวดแล้วเปิดเทปกาวบนสุดออก ผลที่ปรากฎขึ้นคือ นำ้ค่อยๆไหลออกจากรู พอเปิดทปกาวรูที่2 ออก ผลที่ปรากฎขึ้นคือนำ้ไหลพุ่งแรงกว่ารูที่1 และสุดท้ายเปิดเทปกาวรูที่3ออก ผลที่ปรากฎขึ้นคือนำ้ไหลพุ่งแรงกว่าทุกๆรู
       สรุปได้ว่า...นำ้ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ตำ่ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก ความดันของนำ้มีลักษณะคล้ายคามดันของอากาศ คือ เกิดจากนำ้หนักของของเหลวที่มีอยู่เหนือตำแหน่งนั้นๆกดทบลงมา ยิ่งในระดับที่ลึกมาก ของเหลวที่มีอยู่เหนือตำแหน่งนั้น ก็จะมีมากขึ้น ทำให้นำ้หนักของของเหลวมีมากขึ้น




กิจกรรมทดลองเรื่องนำ้พุ




      
 Trial เติมนำ้ลงในขวดที่มีสายยางหย่อนลงในขวดสายยางหย่อนลงในขวดสายยางอีกฝั่ง ต่อเข้ากับฐานทำเหมือนนำ้พุ พอเติมนำ้ลงปรากฎว่านำ้ค่อยๆไหลไปตามสายยางแล้วก็พุ่งออกมาเหมือนนำ้พุ ยิ่งฐานตำ่ลง นำ้ยิ่งพุ่งแรงและสูงมากขึ้น


กิจกรรมลูกยางกระดาษ


อุปกรณ์ที่ทำมีดังนี้คือ
1.คลิปหนีบกระดาษ
2.กระดาษ
วิธีทำ พับกระดาษครึ่งหนึ่ง ตัดตรงกลางกระดาษให้ถึงรอยพับครึ่ง พับออกไคนล่ะทางด้านซ้ายกับด้านขวาอย่างล่ะข้าง หลังจากนั้นพับกระดาษตรงก้นกระดาษขึ้นมาแล้วใช้คลิปหนีบเอาไว้
วิธีการทดลอง โยนขึ้นไปข้างบนแล้วให้กระดาษหล่นลงมา กระดาษที่หล่นลงมาจะหมุนลงสู่พื้น อาจตกลงเร็วบ้าง ช้าบ้าง แล้วแต่แรงที่กระทำกับวัตถุ วัตถุนั้น



กิจกรรมไหมพรมเต้นระบำ

อุปกรณ์
1.หลอด
2.ไหมพรม
วิธีทำ ร้อยไหมพรมเข้าไปในหลอดจากนั้นมัดปม ให้เชือกยาวขนาดเล็กน้อย
วิธีการทดลอง ใช้ปากเป่า ไหมพรมจะเคลื่อนที่ลมจะเข้าไปในหลอด ทำให้เกิแรงขับไหมพรม



กิจกรรม การทดลองเทียนไข

อุปกรณ์
1.แกวนำ้
2.ไม้ขีดไฟ
3.เทียน
4.แก้ว
วิธีทำการทดลอง นำเทียนไขมา1 แท่ง พร้อมจุดไฟแล้วตั้งไว้จากนั้นนำแก้วนำ้ครอบเทียนไขที่จุดไว้พร้อมสังเกตการเปลี่ยนแปลง จะพบว่าเปลวไฟจะค่อยรี่ลงเรื่อยๆแล้วก็จะดับไปเป็นเพราะในอากาศมีออกซิเจนอยู่ การครอบแก้วลงไปนั้นเทียนจะสามารถส่องสว่างได้ครู่หนึ่งจนกว่าออกซิเจนจะเผาไหม้เทียนก็จะดับลงทันที



ทักษะ Skills
-การฝึกทักษะการสังเกต และรู้จักการเปรียบเทียบหาข้อแตกต่าง 
-การจัดการสอนที่หลากหลายวิธี การใช้รูปแบบการสอนที่เข้าใจง่าย
-ฝึกการตั้งสมมุติฐาน การหาเหตุผล การคาดคะเนว่าอะไรจะเกิดขึ้น

การประยุกต์ใช้ Apple
-การใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อที่จะกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้
-การนำวัสดุที่เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์นำมาบูรณาการในการเรียนรู้ได้
-การสอนกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าเรียนรู้สนุกสนาน

วิธีการสอน Teaching methods
-ให้สืบหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
-ใช้สื่อการสอนที่หลากหลายที่น่าสนใจและน่าเรียนรู้
-ใช้คำถามให้รู้จักคิดและหาคำตอบด้วยตนเอง



ประเมิน Assessment
ตนเอง Myself
ตั้งใจเรียน เข้าเรียนสายต้องปรับปรุง พูดจาไพเราะสนใจในการทำกิจกรรม
เพื่อน Classmate
ช่วยกันตอบคำถามช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์ ไม่คุยกันขณะที่อาจารย์สอน ทุกคนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
ผู้สอน Instructor
แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลาส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษาในทุกๆด้าน
ห้องเรียน Place
สะอาด โต๊ะจัดเป็นระเบียบห้องเรียนพร้อมใช้งาน