วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บับทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกการเรียนครั้งที่8

วัน อังคาร ที่ 5 เดิอนตุลาคม พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
การนำเสนอโทรทัศน์ครู
สรุปของนางสาว เวรุวรรณ ชูกลิ่น
        เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
โดย ครูพงศกร ไสยเพชร
 กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กกรจะตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นและการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นและการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่ายๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง โดยของเล่นที่ครูประดิษฐ์ เช่น
-การทดลองเรื่องลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่่อของเล่น นักดำนำ้จากหลอดกาแฟ
-ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศ และ ความดันของอากาศ โดยประดิษฐ์สื่่อของเล่น เลี้ยงลูกด้วยลม
-ถุงพลาสติกมหัศจรรย์
-ความดันยกของ
สรุปของนางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว
       เรื่อง นารีวุฒิ บ้านวิทยาศาสตร์น้อย
 บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชั่งสังเกตุและคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดแทรกอยู่ในทุกๆวัน ในการทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฎิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5ด้วยตนเองโดยทุกกิจกรรมจะมีคุณตรูเป็นผู้คอยเสริมประสบการณ์คอยถามเด็กอยู่เป็นระยะเพื่อให้เด็กวิเคราะห์ได้สังเกต เปรียบเทียบที่จะตอบคำถามครูให้ได้กิจกรรมในการทดลองมีหลายกิจกรรมเช่น ตัวทำละลาย ลอยนำ้ได้อย่างไร หลอดดำนำ้ จมหรือลอย การกรองนำ้ ฟองมหัศจรรย์ เป็นต้น
สรุปของนางสาววัชรี วงศ์สะอาด
      เรื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งรอบตัว
ครูจะพาเด็กสำรวจสิ่งแวดล้อมจากสิ่งรอบตัว วิธีสอนจะเกี่ยวโยงไปกับหน่วยการเรียนรู้
เกมการศึกษา เป็นสื่อที่สอนภาษาอีกวิธีหนึ่งให้กับเด็กได้ดีอีกอย่างหนึ่ง เช่น
-เกมจับคู่ภาพ
-เกมโดมิโน่
กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
1.สิ่งรอบตัวกับสิ่งมีชีวิต
2.ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
3.สารและสมสารของสาร
4.แรงกลและการเคลื่อนที่
5.พลังงาน
6.กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
7.โลกและดาราศาสตร์
8.ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี
การทำกิจกรรมในชั้นเรียน  แบบเป็นกลุ่ม ทำหน่วยต่างๆเช่น ร่างกายของฉัน ชุมชนของฉัน ทำเป็นมายแมพแยกส่วนต่างๆออกไป เช่น ลักษณะ  ชนิด  ข้อควรระวัง ในหน่วยนั้นๆ


กิจกรรม งานกลุ่ม ร่วมกันวางแผนเขียนหน่วยการเรียนรู้สาระที่ควรเรียนรู้
โดยกลุ่มดิฉันได้หน่วยการเรียนรู้ ชุมชนของฉัน




สรุปจากทำกิจกรรม
เป็นกิจกรรมที่สามารถทำให้เรียนรู้จากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่มาใช้ในการตอบการเขียน ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจไม่ใช่เพียงแค่การจดจำเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมเรียนรู้ได้ผ่านกิจกรรม






ทักษะ Skill
ทักษะทางการเขียน การคิด จากประสบการณ์เดิม
การระดมความคิดร่วมกัน
การทำงานร่วมกัน
การนำเสนอโทรทัศน์ครู
การประยุกต์ใช้ Apply
สอนให้เด็กรู้จัการคิด วิเคราะห์ ด้วยตนเอง
บูรณาการในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรุ้ที๋เกิดประสิทธิภาพสูงสูด
สามารถบูรณาการสอนทางภาษาให้กับเด็กได้
วิธีการสอน Teaching methods
ยกตัวอย่างให้มองเห็นภาพที่ชัดเจน
ให้ลงมือปฎิบัติ
ช่วยกันคิดหาคำตอบโดยการระดมความคิด
กระตุ้นให้คิดในการตอบคำถามแต่ล่ะครั้ง






ประเมิน Assessment
ห้องเรียนPlace
สะอาด เหมาะสำหรับการเรียน เงียบสงบ
เพื่อน Classmate
ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน
ตนเอง My self
มีความกระตือรือร้น มีความพร้อมที่จะเรียน ตั้งใจเรียนแต่งตัวเรียนร้อย
อาจารย์ Instructor
ใจเย็น พูดจาไพเราะ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา มีความพร้อมที่จะสอนอยู่เสมอสอนด้วยความเข้าใจ เข้าใจนักศึกษา






.
   

บันทึกอนุทินครั้งที่่7

บันทึกการเรียนครั้งที่7

วันที่ อังคาร ที่22 กันยายน พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
นำเสนอวิจัย
1.นางสาววราภรณ์ แทนคำ
   เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย จุฑามาศ เรือนเก่า
   สรุปได้ว่าการสร้างชุดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้หน่วยการเรียนรู้ที่สอนอยู่5หน่วย ชุดการจัดกิจกรรมนี้ครอบคลุมทั้ง4ด้าน
2.นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์
     เรื่อง การคิดวิจารญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย เสกสรร มาตวังแสง
   สรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาความคิด วิจารณญาณได้โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และมีความเข้าใจด้วยตนเอง
3.นางสาวยุภา ธรรมโคตร
    เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย  ยุภาภรณ์ ชูสาย
    สรุปได้ว่าเป็นการจัดกิจกรรมโดยใช้ธรรมชาติเป็นหลักในการจัดกิจกรรมทดลองจากสีธรรมชาติให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเองทำให้เด็กเกิดทักษะจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
 การนำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
เรือน้อยสอนสมดุล

ชื่อของเล่น   เรือน้อยสอนสมดุล



  

อุปกรณ์
1.แก้วน้ำพลาสติก หรือ กล่องพลาสติกกล่องเล็กที่ไม่ใช้แล้ว
2.ดินน้ำมัน
3.โฟมครึ่งวงกลม
4.กาว กรรไกร กระดาษสีต่างๆ ปากกาเมจิกสีดำ


ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนที่ 1.นำดินน้ำมันมาติดก้นแก้วให้ปริมาณน้ำหนักที่พอเหมาะ  ติดดินน้ำมันในทุกๆแก้วที่ก้นแก้ว
ขั้นตอนที่ 2.นำกระดาษสีมาวาดรูปภาพสัตว์ตามใจชอบ พร้อมตัดติดแปะกับแก้ว ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ

.นำกระดาษสีมาติดฐานที่เป็นโฟมครึ่งวงกล





                                                                         วิธีการเล่น
      นำแก้วน้ำวางบนฐานเรือ ฝึกสังกตและคิดรูปแบบการวางให้เกิดความสมดุล ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง จัดวางแบบใดก็ได้โดยไม่ตายตัว เกมนี้ต้องใช้สมาธิและความคิด เพื่อให้นำแก้วขึ้นเรือได้ 4 ใบโดยรักษาสมดุลไว้ให้ได้ ใครทำได้ก่อนและใช้เวลาน้อยสุดเป็นผู้ชนะ

                                                    ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์
-ความสมดุลคือน้ำหนักขององค์ประกอบไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
-ความสมดุลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผลรวมของแรงทางด้านขวาเท่ากับผลรวามของแรงทางด้านซ้าย
-การที่แรงลัพธ์มากระทำกับวัตถุแล้ววัตถุไม่มีสภาพการเคลื่อนที่ก็จะเกิดความสมุลมที่เตรียมไว้วาดรวดลายตามใจชอบ





ทักษะ Skill
-การนำเสนอบทความนำเสนอการวิจัย
-การระดมความคิด วิเคราะห์สื่อของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
การประยุกต์ใช้ Apply
-นำสื่อของเล่นไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
-สังเคราห์และบูรณาการการใช้สื่อ ของเล่นในการสอนวิทยาศาสตร์
วิธีการสอน Teaching methods
-การใช้คำถาม
-การระดมความคิกับเพื่อนในห้อง
-การสังเคราห์และการวิเคราะห์ 




ประเมิน Assessment
ตนเอง My self
ตั้งใจเรียนสนใจในกิจกรรมเรียนอย่างมีความสุข
เพื่อนClassmate
ตั้งใจทำงานหน้าตาสดใสมีความพร้อมที่จะเรียน
อาจารย์ Instructor
เอาใจใส่นักเรียนทุกคน สอนด้วยความรักความเอาใจใส่
ห้องเรียน Place
สะอาดพื้นที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม