วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วัน อังคาร ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2558

ความรู้ที่ได้รับ Knowledge
-ทบทวนเนื้อหาเดิมของอาทิตย์ที่แล้ว
-วิทยาศาสตร์ต้องให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง คิดเอง วิเคราะห์เอง ต้องเรียนรู้ให้สอดคลองกับวิธีการเรียนรู้
    พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive development)
        เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ด้านความสามารถ ภาษา พัฒนาการขึ้นมาจากการมีปฎิสัมพันธ์ (Interaction)กับสิ่งแวดล้อม
-ตั้งแต่แรกเกิด ผลของปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จักตนเอง (Self) เพราะตอนแรกเด็กยังไม่สามารถแยกตน ออกจากสิ่งแวดล้อมได้
-การมีปฏิสัมพัทธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
-การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา และตลอดชืวิตทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล (Equilibrium)
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interaction)ประกอบด้วย 2 ประการ
2.1กระบวนการดูดซึม (Assimilation)
     Fitting a new experience in to an exisiting mental structure (schema)
การปฏิสัมพันธ์การดูดซึมเช่น การกอด
2.2กระบวนการปรับโครงสร้าง (Accommodation)
    revising an exisitting schema because of new experience
-การเปลี่ยนโครงสร้างกับเชาว์ปัญญา
-การดูดซึมกับประสบการณ์ใหม่
-การปรับแนวคิดการปรับพฤติกรรม
กระบวนการทางสติปัญญา มีดังนี้.....
  1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
  3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
สรุป จากแนวคิดทฤษฏีการพัฒนาการด้านความรู้คิดของเพียร์เจย์ ความสำคํญของเด็กปฐมวัยและเข้สถึงพัฒนาการสติปัญญาชองเด็กที่จะส่งผลต่อการเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพในอนาคต




ทักษะSkills

-การยกกรณีตัวอย่างให้มองเห็นภาพ
-การยกตัวอย่างสื่อต่างๆ
-power poit

วิธีการสอนTeaching techniques

มีการทบทวนเนื้อหาเดิมที่เรียนในอาทิตย์ที่ผ่านมาเพื่อทบทวนความจำให้กับนักศึกษา ถามนักศึกษาให้คิดตามตอบอย่างมีเหตุผลและมีการใช่เนื่อหาpower point เพื่อให้มองออกถึงความชัดเจน

การประยุกต์ใช้Apply

-นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์



ประเมินAssessment

สภาพห้องเรียนPlace
สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดีไม่เย็นเกินไป มีความสว่างเพียงพอ
ตนเองMyself
ไปเรียนสายไม่ทันเวลาเรียน ต้องปรับปรุงการไปเรียน ตั้งใจเรียนดีไม่คุยกับเพื่อน
เพื่อนClassmate
แต่งกายเรียบร้อย ทุกคนมีความพร้อมที่จะเรียนหน้าตาสดใสยิ้มแย้ม
อาจารย์Instructor
มีการทักทายนักศึกษามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีแก่นักศึกษา มีความพร้อมที่จะให้ความรู้กับนักศึกษาอยู่ตลอดเวลาพูดจาไพเราะ มีการถามตอบนักเรียนทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่น่าเบื่อ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น